การแข่งขัน Microsoft AI for Accessibility Hackathon ประกาศทีมผู้ชนะประจำปี 2566 จากผลงานนวัตกรรมเพื่อความเท่าเทียมของทุกคนในเอเชียแปซิฟิก
สิงคโปร์ -
Media OutReach - 3 กรกฎาคม 2566 - กิจกรรม Microsoft AI for Accessibility (AI4A) Hackathon ประจำปี 2566 เป็นการแข่งขันประจำปีที่ชวนทีมนักคิดจากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาหาแนวทางจัดการกับปัญหา และสร้างโซลูชันที่เพิ่มศักยภาพ เสริมโอกาสที่เท่าเทียมมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้พิการ โดยในปีนี้ มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 119 ทีมจากมหาวิทยาลัยในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม มาร่วมกันสร้างแอปพลิเคชันที่จัดการกับปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตของผู้พิการ
คำบรรยายภาพ: ทีม Prambanan จากมหาวิทยาลัย Telkom ในอินโดนีเซียที่งาน Microsoft AI for Accessibility Hackathon ประจำปี 2566
ทีม Prambanan จากมหาวิทยาลัย Telkom ประเทศอินโดนีเซีย ได้พัฒนา Katakan AI (ซึ่งแปลว่า 'Say AI' ในภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย) ซึ่งเป็นโซลูชันหนึ่งเดียวที่ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยินสามารถสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทีมงานได้ออกแบบแอปพลิเคชันเดสก์ท็อปและแพลตฟอร์มมือถือแบบสแตนด์อโลน รวมถึงปลั๊กอินของเบราว์เซอร์สำหรับเครื่องมือการประชุมเสมือนอื่น ๆ ผ่านการผสานรวมกับฟีเจอร์ของ Azure Cognitive Services, Microsoft Translator และช่องแชท AI โซลูชันแบบครบวงจรนี้มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผู้พิการทำงานได้คล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริด
ส่วนตัวแทนจากประเทศฟิลิปปินส์ ทีม Cognitics จาก Lyceum of the Philippines University - Batangas ได้คิดค้นสมาร์ตแบนด์ [ที่สวมข้อมือ] เพื่อจัดการให้ยากับผู้ป่วยได้ผ่านเทคโนโลยีไซโคเมตริกที่ทำงานผสานกับ AI โดยสมาร์ตแบนด์นี้สามารถตรวจจับเหตุฉุกเฉินและจัดการให้ยาที่จำเป็นกับผู้ป่วยได้ทันที
ทีม A-EYE จาก Universiti Teknologi Malaysia ได้พัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันเพื่อช่วยให้ผู้เดินเท้าที่มีความบกพร่องทางสายตาสามารถข้ามถนนและเดินทางได้อย่างปลอดภัย โดยแอปต้นแบบนี้ใช้ Azure Custom Vision มาแจ้งเตือนให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาไม่ชนกับสิ่งกีดขวางขณะเดินทาง
ทีม Hear Me สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งศรีลังกา ได้เปิดตัว Hear Me ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ AR สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน แพลตฟอร์มแบบอินเทอร์แอคทีฟนี้มอบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยเสริมทักษะการสื่อสารและพัฒนาการทางความคิด และนำเป็นตัวช่วยที่มีประโยชน์ในด้านการเรียนรู้สำหรับเด็กที่สื่อสารผ่านภาษามือ
สำหรับประเทศไทย
ทีม DEVA จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำเสนอ Neon ซึ่งเป็น AI ที่ช่วยให้ผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นสามารถสร้างและนำเสนอสไลด์พรีเซนเทชั่นได้ด้วยตนเอง ซึ่งนับเป็นแนวคิดที่นำเทคโนโลยีมายกระดับคุณภาพชีวิตและการพึ่งพาตนเองของผู้พิการกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี
ทีม ATP จาก Royal Melbourne Institute of Technology ในเวียดนาม ได้เปิดตัว AI SpeechCompanion ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีอาการพูดติดอ่าง โซลูชันนี้จะมอบประสบการณ์ที่ปรับแต่งมาให้เหมาะกับความสามารถของแต่ละคน โดยให้พวกเขาจดบันทึก ฝึกพูด และได้รับกำลังใจในการเรียนรู้ที่จะแสดงออกอย่างมั่นใจ ซึ่งจะทำให้พวกเขามีศักยภาพมากขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน
Pratima Amonkar ประธานด้านความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง (D&I) และบริการเพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียมของไมโครซอฟท์ เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า 'ด้วยจำนวนผู้พิการที่มากกว่า
1.3 พันล้านคนทั่วโลก และ
690 ล้านคนในเอเชียแปซิฟิก การเข้าถึงเทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน AI ที่เข้าถึงความแตกต่างของผู้คนจะช่วยให้บุคคลทุพพลภาพเป็นส่วนหนึ่งในสังคมอย่างเต็มที่ในแง่มุมต่างๆ ของชีวิต ได้แก่ การศึกษา การจ้างงาน และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม พร้อมทั้งส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมกัน ลดอคติ และทำลายความไม่เท่าเทียมกันอย่างเป็นระบบ ฉันภูมิใจมากที่ได้เห็นผู้ประกอบการและนักพัฒนารุ่นต่อไปยอมรับความแตกต่างผ่านโครงการต่าง ๆ อย่างเช่น Microsoft AI for Accessibility Hackathon เรามั่นใจว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จ ทุ่มเท และได้รับประโยชน์จากศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงของ AI'